บริการ ไมโครไพล์ซ่อมแซมบ้านทรุด

สาเหตุที่ทำให้เกิดบ้านทรุด

  1. เสาเข็มสั้นเกินไป การก่อสร้างในระบบฐานรากตื้น เช่นการใช้เสาเข็มสั้น 6 เมตร หรือชั้นดินที่มีลักษณะเป็นดินเหนียวอ่อน เมื่อมีน้ำหนักส่งผ่านจากเสาเข็มลงสู่ดินหรือระดับของน้ำใต้ดินลด ต่ำลง ดินจะยุบตัวมากและเป็นผลให้เสาเข็มทรุดตัวตามไปด้วย
  2. เสาเข็มเกิดความบกพร่อง เสาเข็มแตกหักเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้บ้านมีปัญหาทรุดตัว ส่วนมากเสาเข็มจะแตกหักหรือเกิดการชำรุดในขณะที่ติดตั้ง
  3. ฐานรากเยื้องศูนย์ (ศูนย์กลางของเสาเข็มไม่ตรงกับเสาบ้าน) เมื่อเสาของบ้านไม่ตรงกับเสาเข็มจะทำให้ฐานรากพลิกตัวหากสภาพเช่นนี้เกิดขึ้นกับฐานรากส่วนใหญ่จะทรุดเอียง
  4. ปลายเสาเข็มอยู่บนดินต่างชนิดกัน ปลายเสาเข็มบางส่วนของบ้านอาจอยู่ในดินเหนียวแข็งหรือชั้นทราย แต่ปลายเสาเข็มอีกส่วนหนึ่งอาจอยู่ในดินอ่อน ทำให้ฐานรากของบ้านทรุดตัวแตกต่างกัน
  5. เกิดการเคลื่อนตัวของดิน การเคลื่อนตัวของดินมักจะเกิดจากผลกระทบจากภายนอก เช่น มีการขุดดินบริเวณข้างเคียงทำให้ดินเคลื่อนตัวดันเสาเข็มของบ้านให้เคลื่อนจากตำแหน่งเดิม เป็นสาเหตุการทรุดตัวที่มักจะเกิดขึ้นภายหลังจากสร้างบ้านเสร็จเรียบร้อยแล้ว
  6. เสาเข็มรับน้ำหนักไม่ได้ตามความต้องการ หากไม่มีการเจาะสำรวจสภาพขั้นดินอาจทำให้เกิดความผิดพลาดได้ เช่น ไม่ทราบมาก่อนว่าดินใหม่ยังอยู่ในสภาพไม่แน่นตัว นอกจากจะไม่ช่วยรับน้ำหนักแล้วยังเป็นน้ำหนักบรรทุกกดลงบนเสาเข็ม เสาเข็มจึงรับน้ำหนักไม่ได้ตามที่คาดหมายไว้ ดังนั้นถึงแม้ใช้เสาเข็มชนิดเดียวกันและมีความยาวเท่ากับเสาเข็มบ้านข้างเคียง ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถรับน้ำหนักได้เท่ากับเสาเข็มของบ้านข้างเคียงเสมอไป
Company Profile 2
Company Profile 2

เสาเข็มไมโครไพล์ ( Micro piles ) คือ  มีลักษณะเป็นเสาเข็มเหล็กแบบกลม ซึ่งตรงกลางเป็นรูกลวง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว เสาเข็มไมโครไพล์ ( Micro piles ) สามารถรองรับน้ำหนัก ปลอดภัยได้มากกว่า 15 ตัน และมีความยาวท่อนละ 1 เมตร  ซึ่งความยาวนี้สามารถเพิ่มได้โดยการนำเสามาต่อกัน โดยใช้วิธีการกดเสาเข็มด้วยเครื่องกดไฮดรอลิก  เนื่องจากเสาเข็มไมโครไพล์มีลักษณะกลวงจึงช่วยลดการสั่นสะเทือนขณะกด และช่วยลดความกระทบกระเทือนที่มีต่ออาคารข้างเคียง

เสาเข็มไมโครไพล์แบบกดด้วยไฮดรอลิก คือ เสาเข็มไมโครไพล์แบบกดด้วยไฮดรอลิกออกแบบมาเพื่อเสริมฐานรากในการรับน้ำหนักให้กับโครงสร้างที่มีการทรุดตัวและแก้ปัญหาบ้านทรุดโดยเฉพาะ หลักการทำงานคือการใช้น้ำหนักอาคารในการถ่วง โดยการทำงานจะทำการขุดลงไปใต้ฐานรากอาคาร จากนั้นติดตั้งเครื่องไฮโดรลิกในตำแหน่งที่วิศวกรกำหนด แล้วกดเสาเข็มลงไปจนถึงชั้นดินแข็งและมีแรงกดตามที่กำหนด และทำการล็อกบ่ารับน้ำหนักไว้กับฐานโครงสร้าง

คุณสมบัติของเสาเข็มไมโครไพล์แบบกดด้วยไฮดรอลิก

  1. สามารถกดลงได้ลึกกว่า 20 เมตร
  2. รับน้ำหนักได้มากกว่า 15 ตัน
  3. ใช้พื้นที่ในการทำงานน้อย โดยไม่ต้องรื้อโครงสร้างออก
  4. ไม่มีแรงสั่นสะเทือน และไม่มีเสียงดังรบกวนพื้นที่ข้างเคียง
  5. มีกระบวนการตรวจสอบความลึก และแรงดันขณะทำการกดเสาเข็ม
  6. งานเสร็จไว สามารถเปิดพื้นที่ใช้งานได้ทันที

วิธีการทำงานของเสาเข็มไมโครไพล์แบบกดด้วยไฮดรอลิก

  1. สำรวจตรวจสอบอาคารโดยวิศวกรหรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินปัญหาของการทรุดตัว
  2. เมื่อทราบถึงสาเหตุและปัญหา วิศวกรจะทำการประเมินน้ำหนักบรรทุกของอาคาร (Column Load) แล้วจึงกำหนดตำแหน่งที่จะทำการเสริมฐานราก-จำนวนเสาเข็ม ทั้งนี้การเสริมฐานรากอาจเลือกทำเฉพาะตำแหน่งที่มีความเสียหาย (Partially Underpinning) แต่ในกรณีทีอาคารเกิดการทรุดเอียงเกิดความเสียหายมากอาจจำเป็นต้องทำทุกตำแหน่ง (Completely Underpinning)
  3. ก่อนดำเนินการติดตั้งเสาเข็มไมโครไพล์เจ้าหน้าที่จะทำการปิดพื้นที่หน้างานบริษัทจะคำนึงถึงความสะอาดและความเรียบร้อยของหน้างาน
  4. ขุดเปิดพื้นที่ในการทำงานใกล้ตำแหน่งฐานรากเดิมหรือตามตำแหน่งที่วิศวกรกำหนด มีขนาด 8 x 0.8 เมตร และ มีความลึกขึ้นอยู่กับความลึกของฐานราก
  5. ติดตั้งบ่ารับน้ำหนักที่ทำจากแผ่นเหล็กกันสนิม โดยการติดตั้งต้องกำหนดให้หน้าสัมผัสระหว่างคอนกรีตและบ่ารับน้ำหนักมีความเรียบสม่ำเสมอกัน
  6. ติดตั้งเครื่องกดไฮดรอลิกเข้ากับบ่ารับน้ำหนัก เครื่องกดไฮดรอลิกมีขนาดความก้าง 5 เมตรและสูง 1.5 เมตร ให้แรงดันมากกว่า 300 Bars หรือมากกว่า 15 ตัน แม่แรงไฮดรอลิกที่ใช้ในการกดเสาเข็ม ต้องผ่านการสอบเทียบ(Calibration) โดยหน่วยงานซึ่งเป็นที่ยอมรับ
  7. ทำการกดเสาเข็มไมโครไพล์ที่มีลักษณะเสาเข็มเหล็กแบบกลม ซึ่งตรงกลางเป็นรูกลวง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว และมีการเคลือบกันสนิม ลงสู่ชั้นดินทีละท่อน ท่อนละ 1 เมตร แล้วทำการกดเสาเข็มจนกระทั่งได้ความลึกตามที่วิศวกรกำหนดไว้
  8. เมื่อทำการกดเข็มได้ความลึกตามที่วิศวกรกำหนด จะใช้แผ่นเหล็กล๊อกบ่ารับน้ำหนักเข้ากับโครงสร้าง
  9. เพื่อป้องกันการขยับตัวของไมโครพล์เจ้าหน้าที่จะทำการเทปูนหุ้มบ่ารับน้ำหนัก และเทคอนกรีตปิดหน้างาน การเสริมฐานรากควรอยู่ในความควบคุมดูแลของวิศวกรหรือผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์
Company Profile 2